จริงหรือ??
PMS เป็นเครื่องมือการบริหารที่สําคัญขององค์กรทุกธุรกิจ
ที่ส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กรในระยะยาว
จริงหรือ??
การประเมินผลงานของพนักงาน องค์กรควรเน้นไปที่…
การวัด KPIs และ Competency
เพื่อพัฒนาผลักดันให้ผลลัพธ์ของพนักงานเกิดขึ้น
มาหาคำตอบที่สามารถนำไปใช้งานได้จริงในวิชานี้
รายวิชา
"การบริหารผลงานเพื่อองค์กรประสิทธิภาพสูง"
Performance Management System
for High Performance Organization
คำอธิบายรายวิชา
ความหมายของระบบบริหารผลงาน แนวความคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน องค์กรประสิทธิภาพสูง วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน คุณลักษณะตัวชี้วัดผลงานหลัก แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงานหลัก การแจ้งและหารือผลการปฏิบัติงาน กระบวนการบริหารผลงาน หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน การบูรณาการระบบการบริหารผลงานกับระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ ระบบสมรรถนะและออกแบบแบบประเมินสมรรถนะ และการประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะหรือขีดความสามารถของบุคลากร
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 10 นาที)
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงานได้
- ผู้เรียนสามารถอธิบายระบบการบริหารผลงานได้
- ผู้เรียนสามารถออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การได้
- ผู้เรียนสามารถอธิบายระบบสมรรถนะและออกแบบแบบประเมินสมรรถนะได้
- ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะหรือขีดความสามารถของบุคลากรได้
คุณสมบัติผู้เรียน
สำหรับผู้ที่สนใจจะสอบวัดระดับคุณวุฒิวิชาชีพในสาขาการบริหารผลงาน นักศึกษา นักบริหารบุคคล และผู้บริหารองค์กร
เกณฑ์การวัดผล
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70%
ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC
![]() |
ชื่อผู้สอน ผศ.กีรติกร บุญส่ง
|
![]() |
ชื่อผู้สอน ดร. วิเชศ คำบุญรัตน์
|
โครงสร้างรายวิชา
วิชานี้ ผู้เรียนสามารถเรียนหัวข้อต่างๆ ตามอัธยาศัย ในเวลาที่ตนเองสะดวก อย่างไรก็ดี ทีมผู้สอนขอแนะนำให้เรียนรู้และทำกิจกรรมตามลำดับชั่วโมงเรียนรู้ ดังนี้
บทที่ 1: แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน
1.1 แนวความคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารผลงาน
1.2 องค์กรประสิทธิภาพสูง
บทที่ 2: กระบวนการบริหารผลงาน หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน
2.1 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
2.2 การแจ้งผลการปฏิบัติงาน
2.3 กระบวนการบริหารผลงาน
2.4 หลักการการออกแบบระบบการบริหารผลงานและการดำเนินการตามระบบการบริหารผลงาน
บทที่ 3: การออกแบบระบบบริหารผลงานให้สอดคล้องกับบริบทขององค์การ
3.1 ตัวแบบระบบบริหารผลงาน
3.2 ตัวชี้วัดผลงาน วิธีการวัดผลงาน และการรายงานผลการปฏิบัติงาน
3.3 การบูรณาการระบบการบริหารผลงานกับระบบบริหารทรัพยากรมนุษย์อื่นๆ
บทที่ 4: แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน (People Capability and Competency Modeling)
4.1 แนวความคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน
4.2 สมรรถนะหรือขีดความสามารถของคน
4.3 การประเมินสมรรถนะ
บทที่ 5: การประยุกต์ใช้ระบบสมรรถนะ (Competency) หรือขีดความสามารถของคน
5.1 ระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์บนฐานสมรรถนะ (Competency based HRM)
5.2 แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษาระบบสมรรถนะ
ประมวลรายวิชา
|
พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน |
![]() สอนโดย คณะวิทยาการจัดการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ |
![]() |
![]() |
![]() |