
อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก
นายพลวัฒน์ โรจน์บุญฤทธิ์
ตำแหน่ง : อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
รายวิชานี้มุ่งให้หน่วยงานของรัฐ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานอื่นของรัฐ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง คดีอาญาและบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลและประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา การตรวจสอบสถานะทรัพย์สินของลูกหนี้ ขั้นตอนในการส่งเรื่องให้สำนักงานอัยการสูงสุดตามอำนาจหน้าที่ และหน่วยงานดังกล่าวสามารถดำเนินกระบวนงานทั้งหมดในการดำเนินคดีได้อย่างถูกต้องได้
จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 15 นาที)
1. ผู้เรียนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง คดีอาญา และบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลและประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
2. ผู้เรียนสามารถระบุเขตอำนาจสำนักงานอัยการที่รับผิดชอบ อายุความ ระยะเวลาในการดำเนินการบังคับคดี
3. ผู้ผู้เรียนสามารถระบุว่าพนักงานอัยการหรือนิติกรจะต้องเตรียมการ ดำเนินการในชั้นบังคับคดีอย่างไรทั้งขั้นตอนเอกสารที่ต้องใช้และสามารถดำเนินการในชั้นบังคับคดีได้อย่างถูกต้อง
4. ผู้เรียนสามารถระบุปัญหาทั่วไปที่พบในการปฏิบัติงานและสามารถอธิบายวิธีการแก้ปัญหาในการทำงานทั่วไปที่พบในการบังคับคดีแพ่ง คดีปกครอง คดีอาญา และบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลและประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษาการสั่งคดี ตลอดจนการดำเนินคดีในชั้นศาลได้
5. ผู้เรียนสามารถนำหลักการในการดำเนินคดีแพ่ง คดีปกครอง คดีอาญา และบังคับคดีกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาลและประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในหน่วยงานของตนได้
นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้
เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน
ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้
นายพลวัฒน์ โรจน์บุญฤทธิ์
ตำแหน่ง : อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นายธนเสฏฐ์ อ่อนละเอียด
ตำแหน่ง : อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด
นางสาวยุวดี คล้ายสาหร่าย
ตำแหน่ง : นิติกรชำนาญการพิเศษ
นายอิศเรศ นาคเทศ
ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานคดีปฏิบัติการ
“สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org)
และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”